ประวัติโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน(ราษฎรบำรุง)
|
 |
โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน(ราษฎรบำรุง) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โรงเรียนนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2466 โดยตั้งอยู่บนที่ดินริมน้ำเมย (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านพักครูของโรงเรียน) โดยมีนายจู ไม่ทราบนามสกุลดำรงตำแหน่งครูใหญ่
สำหรับด้านการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆนั้น หลังจากปี พ.ศ. 2500 ได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารแบบ ป.1 ซ แล้วในปี พ.ศ. 2505 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ 10,000 บาท สำหรับสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เนื่องจากพื้นที่เดิมของโรงเรียนเป็นที่คับแคบ ดังนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2501 จึงได้ย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่คือพื้นที่ที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน โดยมีนายทอง ศิริวงษ์ ตำแหน่งครูใหญ่ในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการ
ปี พ.ศ.2514 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบกรมสามัญ งบประมาณ 25,000 บาท จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบกรมสามัญจำนวน 4 หลัง งบประมาณหลังละ
25, 000.00 บาท และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบกรมสามัญ 008 โดยงบประมาณของ
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ขนาด6 ห้องเรียน งบประมาณ 100,000 บาท จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบกรมสามัญ ขนาด 6 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ.2519 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงาน แบบกรมสามัญ 312 จำนวน 1 หลัง ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญ อีกจำนวน 3 หลัง งบประมาณหลังละ 80,000 บาท และได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบกรมสามัญ 017 (ใต้ถุนสูง) จำนวน 1 หลัง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521ได้รับงบต่อเติมชั้นล่างอีก 6 ห้องเรียน รวมเป็น 12 ห้องเรียน) ในปีเดียวกันโรงเรียนได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนชุมชน และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน (ราษฎรบำรุง) ซึ่งเดิมชื่อ
“โรงเรียนบ้านแม่ต้าน (ราษฎรบำรุง)”
ปี พ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงอาหาร แบบ 312 จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2523 ได้โอนการศึกษาประชาบาล ซึ่งสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก มาขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ปี พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ สปช. 601 ขนาด 4 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 50,000 บาท
ปี พ.ศ. 2527ได้รับงบประมาณก่อสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ.1 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 10,000 บาท
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105 ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 800,000 บาท และได้รับงบประมาณรื้อย้ายบ้านพักครู (มีปัญหาเรื่องที่ดินจากที่ตั้งในโรงเรียนปัจจุบันไปสร้างในที่หมู่บ้านพักครู จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 80,000 บาท
ปี พ.ศ. 2528 ได้รับอนุมัติให้รื้ออาคารเรียนหลังเก่า (แบบ ป.1 ซ ขนาด 10 ห้องเรียน สร้างเมื่อปี พ.ศ.2500) เพื่อนไปสร้างสำนักงานโดยขอแรงจากชาวบ้านมาช่วยดำเนินการ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบสปช. 205 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 850,000 บาท ได้รับงบประมาณของกรมประมงทำการขุดบ่อเลี้ยงปลาในโรงเรียน งบประมาณ 96,000 บาท ได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามวอลเลย์บอล
แบบสปช. 1 สนาม งบประมาณ 67,000 บาท ได้รับงบประมาณในการรื้อย้ายบ้านพักครูด้านหน้าโรงเรียน 3 หลัง
งบประมาณค่ารื้อย้ายหลังละ 80,000 บาท โดยย้ายไปก่อสร้างที่บริเวณ บ้านพักครู แปลงเดิม 2 หลัง
และย้ายไปสร้างบริเวณด้านหน้า โรงเรียนด้านทิศตะวันตก จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ สปช.601/26 ขนาด 4 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง งบประมาณก่อสร้าง 60,000 บาท โรงเรียนได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนในทุกด้านจนได้รับรางวัล “โรงเรียนดีเด่น” ของจังหวัดตาก (รับรางวัลประกาศเกียรติคุณจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอกมานะ รัตนโกเศรษฐ์ ณ หอประชุมคุรุสภาในวันประถมศึกษาแห่งชาติ
ปี พ.ศ. 2532) โดยมีนายผดุง สุริยะ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณก่อสร้างและต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง แบบสปช.105/26
ขนาด 4 ห้องเรียน งบประมาณ 240,000 บาท
ปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามวอลเลย์บอล แบบ สปช. จำนวน 1 สนาม งบประมาณก่อสร้าง 80,000 บาท โรงเรียนได้อนุมัติให้ปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมีนายผดุง สุริยะ เข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวันที่ 26 มีนาคม 2537 และได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลดีเด่น,ประเภทผู้บริหารการศึกษา จังหวัดตาก จากวิทยาลัยครูกำแพงเพชร
ปี พ.ศ. 2537 จัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีศิษย์เก่าสู่โรงเรียน ได้เงินรวม 120,000 บาท จัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กด้านหน้าโรงเรียน ขนาดกว้าง 4 เมตร หนา 15 เซนติเมตร ยาว 126 เมตร
ปี พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ 601/ 26 ขนาด 4 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง
(หลังที่ 3) งบประมาณก่อสร้าง 90,000 บาท
ปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณ (งบพัฒนาจังหวัดของ ส.ส.จังหวัดตาก) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 4 เมตร หนา 12 เซนติเมตร ยาว 196 เมตร (รอบถนนด้านหน้าของโรงเรียน) งบประมาณ 296,000 บาท และในปีเดียวกันนี้ผู้บริหารโรงเรียน นายผดุง สุริยะ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก และนางวารี คำปาสังข์ ตำแหน่งอาจารย์ 2 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูผู้สอนดีเด่นของสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดตากเนื่องในวันประถมศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2538 ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ สปช.601/26 ขนาด 4 ที่นั่งจำนวน 1 หลัง (หลังที่ 4) งบประมาณ 90,000 บาท และได้จัดสร้างที่แปรงฟันขึ้นอีก 1 หลัง โดยไม่ใช้ งบประมาณของทางราชการ รวมในปีปัจจุบัน มีที่แปรงฟัน 3 หลัง จำนวน 60 ก๊อกน้ำ
ปี พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณ (งบพัฒนาจังหวัดของ คุณรักษ์ ตันติสุนทร ส.ส.ตาก) ก่อสร้างอาคารคอมพิวเตอร์จำนวน 1 หลังงบประมาณ 374,000 บาท ทำพิธีรับมอบอาคารเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2542
ปี พ.ศ.2541 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้รื้อบ้านพักครู จำนวน 1 หลัง เพื่อวัสดุที่ใช้ได้ไปจัดทำ โต๊ะอาหารนักเรียนและในพื้นที่เก่าของบ้านพักครูได้จัดสร้างเป็นโรงจอดรถ (โดยไม่อาศัย งบประมาณของทางราชการ) ได้สร้างอาคาร กศ.พช. โดยใช้ชื่อว่า “อาคารแปดริ้ว – บำรุงวงศ์” ซึ่ง ได้รับเงินสนับสนุน จาก คุณสราวุธ บำรุงวงศ์ ซึ่งสิ้นค่าก่อสร้างรวม 329, 000.00 บาท
ปี พ.ศ. 2543 ได้ทำการสร้างรั้ว ค.ส.ล.ด้านหน้า ด้านข้าง และด้นทิศตะวันตก รวม 87 ช่อง รวมค่าใช้จ่าย 304,500 บาท โดยได้รับบริจาคจากศิษย์เก่าและผู้ปกครองนักเรียน (ทำพิธีรับมอบ และทำบุญในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543)
ปี พ.ศ. 2544 วันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ได้ทำบุญทอดผ้าป่า เพื่อหาทุนทรัพย์จัดซื้อ ตู้น้ำเย็นประจำห้องเรียน 12 ตู้ เมโลเดี้ยน จำนวน 24 ตัว ชุดสื่อการสอนเครื่องเล่น VCD. และ อุปกรณ์ประกอบการสอน Soft wear ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น 120,800 บาท เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 นายผดุง สุริยะ ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ประสานติดต่อกับแม่ชีทองคำ สายหยุด วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอช่วยสนับสนุนการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาในโรงเรียนและได้รับความอนุเคราะห์จากท่านและพระมหาทองปลิว สายหยุด ตั้งมูลนิธิขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิพระมหาทองปลิว สายหยุด” และได้ยื่นขอจดทะเบียนด้วยเงินฝาก จำนวน 318,000. บาท (สามแสนหนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และได้รับอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้จัดตั้งมูลนิธิได้ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2545 และมูลนิธิฯ มีเงินครบ 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551
ปี พ.ศ. 2545 ได้จัดสร้างถังเก็บน้ำและระบบประปาโรงเรียน ด้วยเงินบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียนและประชาชน เป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 70,000 บาท และในปีเดียวกันนี้ นางวารี คำปาสังข์ อาจารย์ 2 ระดับ 7 ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคลากรแกนนำปฏิรูปการศึกษารางวัลครูเกียรติยศ (Teacher Awards) สาขาคณิตศาสตร์ และนางศรีวรรณ หมวกชา อาจารย์ 2 ระดับ 6 ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคลากรแกนนำปฏิรูปการศึกษารางวัลครูเกียรติยศ (Teacher Awards) สาขาภาษาไทย
ปี พ.ศ. 2546 ได้จัดสร้างสนามเปตอง “มูลนิธิพระมหาทองปลิว สายหยุด” โดยใช้เงินดอกผลเงินฝากมูลนิธิ ฯงบประมาณ 30,000 บาท และได้จัดสร้างส้วมอาคารที่ระลึก “วันอำลาโรงเรียน”นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 1 หลัง 2 ที่นั่ง และในปีเดียวกันนี้ได้ร่วมกับคณะกรรมการและผู้ปกครองชั้นอนุบาลได้จัดสร้าง ห้องน้ำ-ห้องส้วม โดยการจัดการทอดผ้าป่าและเชิญชวนบุคคลทั่วไปช่วยบริจาค โดยจัดสร้างจำนวน 4 ห้อง ขนาด 12 ที่นั่งสิ้นค่าก่อสร้าง 157,000 บาท (โดยไม่อาศัยเงินงบประมาณ)
ปี พ.ศ.2547 (เดือนมิถุนายน) โรงเรียนได้รับการกำหนดให้เป็น ศูนย์ให้การเรียนรู้ตามโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา และโรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ดังนี้
-
จัดทำซุ้มประตูทางเข้าตามป้ายชื่อโครงการ สิ้นค่าก่อสร้างจำนวน 76,000 บาท (ไม่ใช้งบประมาณ)
2. ปรับปรุงอาคารแปดริ้วบำรุงวงศ์ โดยขยายห้องกว้างขึ้นเป็นขนาด 7.50 X 28.00 ม. (เดิมขนาด 5.00 X 18 ม.) โดยงบประมาณของ สพฐ. จำนวนเงิน 376,900 บาท
-
สร้างห้องน้ำ – ห้องส้วม ขนาด 4 ที่นั่ง พร้อมที่ปัสสาวะชายจำนวน 10 ที่ โดยประมาณของโครงการพระราชดำริฯ จำนวนเงิน 155,000 บาท
-
ได้รับการประสานงานกับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่จบชั้น ป.6 ในปีการศึกษา 2546 ร่วมจัดสร้างส้วมเป็นที่ระลึก(หลังอาคาร 3) ขนาด 2 ที่นั่งจำนวน 1 หลัง ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 96,000 บาท (โดยไม่ใช่เงินงบประมาณของทางราชการ)
ในปี พ.ศ.2552 ได้จัดสร้างอาคารศูนย์สื่อปฐมวัยต้นแบบ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 110 ตารางเมตร (กว้าง 10 เมตร ยาว 11 เมตร) สร้างติดกับอาคาร 1 (สปช.105/26) เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาโครงการศูนย์สื่อเด็กปฐมวัยต้นแบบ ประจำอำเภอท่าสองยาง สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 298,000 บาท
โดยใช้ชื่อว่า“อาคารตันติสุนทร” (โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ)
ปี พ.ศ.2549 โรงเรียนได้รับงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก โดยการประสานงานจาก นายวสันต์ อริยะเครือ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการก่อสร้างอาคารภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 192 ตารางเมตร (กว้าง 12 เมตร ยาว 16 เมตร) สร้างบริเวณบ่อเลี้ยงปลา
ของโรงเรียนเพื่อเป็นที่รวมวัตถุโบราณของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ให้นักเรียน ประชาชนและหน่วยงาน
ต่างๆได้ศึกษาค้นคว้า ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นโดยงบประมาณขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดตาก จำนวนเงินประมาณ 1,600,000 บาทและได้ทำบุญเปิดอาคารภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น
ในวันที่ 12 กันยายน 2550 โรงเรียน อีกทั้งโรงเรียนได้ทราบผลการประกวดโรงเรียนพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษา (ขนาดเล็ก) คือ โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษา(ขนาดเล็ก)ในปีการศึกษา 2548 ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม2549
ในปีเดียวกันนี้ทางโรงเรียนได้เป็นตัวแทนของจังหวัดตาก(ชนะเลิศการแข่งขันระดับจังหวัด)เข้าร่วมประชุมการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนชนะเลิศ 1 ใน 5 โรงเรียนของการนำเสนอผลงานในครั้งนี้เป็นตัวแทนของ เขตการศึกษา 7 เข้าร่วมแข่งขันในระดับภาคที่จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
นอกจากนี้แล้วโรงเรียนยังได้ส่งส้วมเข้าร่วมประกวดในโครงการสุดยอดส้วมแห่งปี 2549 ของ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผลปรากฏว่าโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศสุดยอดส้วมแห่งปี 2549
ระดับจังหวัด ได้รับรางวัลชนะเลิศสุดยอดส้วมแห่งปี 2549 ระดับเขตกรมอนามัย จังหวัดพิษณุโลก และได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ
ปี พ.ศ.2550 เดือน มกราคม–กุมภาพันธ์ ได้ทำการสร้างรั้ว ค.ส.ล. ด้านข้างฝั่งด้านทิศตะวันตกรวม 25 ช่อง รวมค่าใช้จ่าย 137,500 บาท โดยได้รับบริจาคจากครอบครัว “พันธ์คำ” และญาติ
ในวันที่ 17 มีนาคม 2550 โรงเรียนได้จัดงานแสดงความยินดี โรงเรียนพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษา(ขนาดเล็ก) รางวัลสุดยอดส้วมแห่งปี รางวัลโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมและพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนปรับปรุงโรงอาหาร โดยได้รับการบริจาคจากคุณชำนาญ พันธุ์คำ คุณสามารถ ความหมั่น และคณะทำบุญผ้าป่าชาวแปดริ้ว(จังหวัดฉะเชิงเทรา)เป็นจำนวนเงิน 397,000 บาท
และในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารพยาบาลโดยใช้ชื่อว่า “เรือนทิพรส” เสร็จเรียบร้อยและได้ทำพิธีทำบุญทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาและรับมอบอาคารพยาบาล ในวันที่ 7 สิงหาคม 2550 โดยในการก่อสร้างนี้ทางโรงเรียนได้งบประมาณจากคณะศรัทธาจากชาวแปดริ้ว (จังหวัดฉะเชิงเทรา) เป็นจำนวนเงิน 300,668 บาท
นอกจากนี้แล้วโรงเรียนยังได้ส่งส้วมเข้าร่วมประกวดในโครงการสุดยอดส้วมแห่งปี 2550 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผลปรากฏว่าในปี 2550 นี้โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศสุดยอดส้วมแห่งปี 2550 ในระดับ
ประเทศประเภทโรงเรียน ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณกับท่านรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ณ โรงแรม
เดอะแกรนด์ อยุธยา บางกอก
ผลจากการได้รับรางวัลสุดยอดส้วมแห่งปี 2550 ทางโรงเรียนจึงได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่มีผลงาน Best Practice ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ให้ได้เป็นตัวแทนในการทำเสนอผลงาน ในการประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากทั้งเขต 1 และเขต 2 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งในครั้งนี้ท่านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการสำนักงาน
คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติเข้าชมผลงาน
ปี พ.ศ. 2551 ได้ทำการสร้างอาคารศูนย์สื่อผสมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อเป็นการส่งเสริม
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อต่างๆ ทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่นได้รับความอนุเคราะห์งบประมาณจากธนาคารไทยพานิชย์ จำกัด(มหาชน) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และได้จากการทอดผ้าป่า รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นเงิน 710,506 บาท และได้ทำพิธีทำบุญรับมอบอาคารเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551
วันที่ 16 ธันวาคม 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน (ราษฎรบำรุง) ทรงทอดพระเนตรตามจุดต่างๆ เช่น ห้องคอมพิวเตอร์
เรือนพยาบาล อาคารสื่อปฐมวัยต้นแบบ ทอดพระเนตรโครงการสุดยอดส้วมแห่งปีระดับประเทศ โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้ได้รับ
วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาและอาคารภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปี พ.ศ.2552 โรงเรียนได้พัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและส่งโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อรับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรสถานศึกษาที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ประจำปีการศึกษา 2552 (โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่เลขที่ 13)
- ผู้บริหารโรงเรียนได้รับเชิดชูเกียรติ ประเภทผู้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่เป็นวิชาชีพเมื่อวันที่ 16 มกราคม2552
- โรงเรียนได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ได้รับการคัดเลือกยกย่องประเภทผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง คือ นายผดุง สุริยะ ได้รับเข็ม“คุรุสดุดี” ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา
ปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนรับการประเมินโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553
(ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 ปี 2550) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์และร่วมรับโล่โรงเรียนในฝันร่วมกับคณะการประเมินโรงเรียนในฝัน คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
ทุกคนของโรงเรียน
-
โรงเรียนได้รับรางวัลโรงอาหารดีเด่นระดับเขต เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยรับโล่รางวัลจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิเศษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
-
โรงเรียนได้รับรางวัลส้วมยอดเยี่ยมระดับจังหวัดตาก ประจำปี 2553 จาก
นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
ปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ระดับเพชร เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 จากศูนย์อนามัยที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
ปี พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ครูได้รับการคัดเลือกยกย่องประเภทผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง คือ นางศรีวรรณ หมวกชา ได้รับเข็ม“คุรุสดุดี” ประเภทครูผู้สอนในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เป็นที่ประจักษ์ชัด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555
ปี พ.ศ. 2555 นายเทิน แสนคำ มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555
ปี พ.ศ.2556 นายณัฐพล ทองดีนอก ได้ย้ายไปรับตำแหน่งรอง ผอ.โรงเรียนใหม่ทำให้ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต ๒ จึงแต่งตั้งให้นายวรพงษ์ มั่นคง รักษาราชการแทนฯ
ปี พ.ศ.255๖ โรงเรียนได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน ส่งนักเรียน ครูเข้าร่วม
การแข่งขันทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภาค ได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองเงิน
ในปีนี้ทางโรงเรียนกำลังดำเนินการก่อสร้าง “โรงเรียนธนาคาร” ยังไม่แล้วเสร็จ
ปี พ.ศ.2557 อาคารธนาคารโรงเรียน 1 หลัง ก่อสร้างเสร็จ ด้วยงบประมาณก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐ บาท และก่อสร้างรั้วรอบบริเวณสระน้ำ ปรับปรุงบ้านพักครู 2 หลังและลานจอดรถ
ปี พ.ศ.255๘ ว่าที่ร้อยตรีธวัชชัย แสงแปลง ได้มารับตำแหน่งรอง ผอ.โรงเรียน วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ นายเทิน แสนคำ ผู้อำนวยการโรงเรียนฯได้เกษียณอายุราชการ ทำให้ตำแหน่งว่างลง
ปี พ.ศ.255๘ ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนเก่า สปช. 105(อาคาร ๑ ) ปูพื้นกระเบื้องและเปลี่ยนหลังคาและรางริน รั้วรอบโรงเรียนติดวัดอรัญญาวาส
ปี พ.ศ.255๙ นายสุเชษฐ์ รัตนเสถียร ได้มารับตำแหน่ง ผอ.โรงเรียน วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ แทนตำแหน่งที่เกษียณอายุราชการ จนถึงปี พ.ศ.2564 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
ปี พ.ศ.2565 นายวรพงษ์ มั่นคง ได้มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน(ราษฎรบำรุง) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 แทนนายสุเชษฐ์ รัตนเสถียร ผู้อำนวยการเดิม
ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดินจำนวน 3 แปลง รวมพื้นที่ 17 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา
(แปลงที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) เป็นแปลงที่ 3 ที่ดินเลขที่ 359 จำนวน 12 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา
(ข้อมูล 24 สิงหาคม 2543) มีอาคารเรียน 3 หลัง รวม 24 ห้อง บ้านพักครู 14 หลัง ส้วม 6 หลัง (22 ที่นั่ง) อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง อาคารคอมพิวเตอร์ 1 หลัง อาคารแปดริ้วบำรุงวงศ์ 1 หลัง เรือนพยาบาล 1 หลัง อาคารศูนย์สื่อปฐมวัย 1 หลัง อาคารภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 หลัง และอาคารประกอบอื่น ๆ รวม 4 หลัง
โรงเรียนได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 25๖๓
มีนักเรียนชาย ๓๑๐ คน นักเรียนหญิง ๒๙๗ คน รวม 6๐๗ คน มีข้าราชการครู จำนวน 2๑ คน พนักงานบริการ จำนวน 1 คน ครูช่วยสอนระดับชั้นอนุบาล จำนวน ๒ คน ครูภาษาจีน ๑ คน ครูสอนว่ายน้ำ ๑ คน ครูสอนภาษาพม่า ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ๑ คน ครูอัตราจ้าง - คน แม่ครัว จำนวน ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๒๙ คน
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสูงแนวทิวเขาถนนธงชัย อำเภอท่าสองยางเป็นอำเภอหนึ่ง
ใน 9 อำเภอ ของจังหวัดตาก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตาก ประมาณ 169 กิโลเมตร อำเภอท่าสองยางตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) และอำเภออมก๋อย (จังหวัดเชียงใหม่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
|